เคยสงสัยมั้ยว่า หนูอาศัยอยู่ในท่อระบายน้ำได้อย่างไร ???

ยี้ !! หนู 

รู้หรือไม่ว่า หนูชนิดไหนกันน้า ที่อยู่ในบ้านเรา.. ไม่เคยจะออกมาให้เห็นหน้าแต่สร้างความรำคาญและความเสียหายเก๊งเก่ง

 

วิธีสังเกตว่าเป็นหนูชนิดอะไร มีเคล็ดลับง่าย ๆ ดังนี้

1.สถานที่ที่พบหนู

- ท่อระบายน้ำ ตลาดสด ตามแหล่งขยะมูลฝอย ขยะเปียก ห้องน้ำ หรือ ที่ที่มีความชื้นสูงมากๆ จะพบหนูนอร์เว หรือ หนูท่อ, หนูตลาด

- ห้องครัว ยุ้งฉางเก็บพืชผล ธัญพืช เมล็ด ลิ้นชักตู้ บนฝาหลังคา จะพบหนูตระกูลท้องขาว, หนูหริ่ง, หนูจี๊ด

2.ขนาดของมูลหนู มูลของหนูมีขนาดใหญ่เล็กแตกต่างกันไปตามน้ำหนักตัวและชนิดของหนู ตัวอย่างดังรูป

จากรูปจะเห็นได้อย่างชัดเจนว่า 1)มูลของหนูนอร์เวจะมีขนาดใหญ่ 1 เซ็นติเมตร หรือมากกว่า 2)มูลของหนูท้องขาวบ้านจะมีขนาดประมาณ 1 เซ็นติเมตรไม่เกิน 3)มูลของหนูจี๊ดจะมีขนาดเล็กกว่า 1 เซ็นติเมตรอย่างเห็นได้ชัด 

 

เพียงแค่ 2 เทคนิคง่ายๆ ในการแยกแยะชนิดของหนูแค่นี้ เราก็สามารถรู้ได้แล้วว่า มีหนูชนิดไหนอยู่ในบ้านกับเรา แล้วเราก็จะมีวิธีการในการกำจัดหนูได้ง่ายยิ่งขึ้นแล้วค่ะ

รูปแบบของสารเคมีกำจัดแมลง

แบ่งเป็นกลุ่มตามลักษณะของการใช้งานได้ 6 กลุ่ม ดังนี้

กลุ่มที่ 1 ชนิดเข้มข้นซึ่งต้องผสมน้ำก่อนพ่น

กลุ่มที่ 2 ชนิดเข้มข้นซึ่งต้องใช้สารอินทรีย์เป็นตัวทำละลาย

กลุ่มที่ 3 ชนิดที่นำไปใช้ได้ทันทีโดยไม่ต้องทำให้เจือจาง

กลุ่มที่ 4 ชนิดที่ใช้สำหรับคลุกเมล็ด

กลุ่มที่ 5 ชนิดที่ใช้เป็นสารรม

กลุ่มที่ 6 ชนิดที่ใช้เป็นเหยื่อพิษ

ตัวอย่างของสูตรผสมรูปแบบต่าง ๆ 

      สังเกตจากข้างขวดผลิตภัณฑ์สารเคมี บริเวณชื่อการค้า ชื่อสารออกฤทธิ์ หรือบริเวณฉลากแนะนำการใช้สารเคมี เช่น ไซเพอร์การ์ด 25 อีซี เอธินา 5 SC เป็นต้น

  • EC: Emulsifiable Concentrate สูตรชนิดน้ำมันเข้มข้น เป็นของเหลวที่ผสมเป็นเนื้อเดียวกัน เมื่อทำการเจือจางด้วยน้ำก่อนนำไปใช้ จะได้สารอิมัลชั่นมีลักษณะสีขาวขุ่น สามารถใช้กับถังสเปรย์ หรือเครื่องพ่นหมอกควันได้

 

  • SC: Suspension Concentrate สูตรชนิดของเหลวข้น เป็นสารผสมแขวนลอย ต้องทำการเขย่าก่อนการผสมน้ำ

 

  • SG: Water Soluble Granules สูตรชนิดเม็ดละลายน้ำ เป็นรูปเม็ด ต้องผสมน้ำก่อนใช้ สารออกฤทธิ์ละลายน้ำได้ดี แต่มีบางส่วนของสารไม่ออกฤทธิ์ในสูตรผสมที่ไม่ละลายน้ำ

 

  • WP: Wet table powder สูตรชนิดผงผสมน้ำ เป็นรูปผง เมื่อจะใช้ต้องเจือจางด้วยน้ำ ได้สารละลายในรูปของสารผสมแขวนลอย

 

  • WG: Water Dispersible Granules สูตรชนิดเม็ดผสมน้ำ เป็นรูปเม็ด มีคุณสมบัติและการผลิตเช่นเดียวกับ WP เพียงแต่ทำออกมาเป็นเม็ด

 

  • SL : Soluble Concentrate สูตรละลายน้ำ เป็นสารเคมีรูปแบบของเหลว ละลายเข้ากับน้ำเป็นเนื้อเดียว

 

  • EW : Emulsion oil in water Concentrate สูตรน้ำมันในน้ำ เป็นของเหลวหนืด เป็นสารเนื้อผสมซึ่งสารออกฤทธิ์ละลายในตัวทำละลายอินทรีย์เป็นละอองขนาดเล็กกระจายตัวอยู่ในน้ำ เมื่อเจือจางด้วยน้ำจะได้สารอิมัลชั่น

 

  • CS : Capsule Suspension สูตร N-Microcapsule สารละลายแขวนลอยที่มีความคงตัวในรูปแคปซูลในของเหลวหนืด เจือจางด้วยน้ำก่อนใช้งาน

 

ยังมีรูปแบบของเคมีอีกมากมาย ในการเลือกใช้ให้เหมาะสมกับรูปแบบการใช้งาน 

 

หลายคนคงอาจไม่เคยทราบว่าหนูสามารถดำน้ำได้นานถึง 2 นาที แล้วยังสามารถว่ายอยู่ในน้ำได้นานถึง 3 วัน ฉะนั้นการที่หนูอาศัยอยู่ในท่อระบายน้ำได้เพราะเมื่อทางเดินของหนูในท่อระบายน้ำถูกน้ำท่วม หนูก็สามารถว่ายน้ำข้ามทางที่น้ำท่วมได้ และที่สำคัญหนูสามารถว่ายเข้าบ้านเรือนของเราทางท่อระบายน้ำได้

 

คิดดูนะคะว่าน้ำในท่อระบายน้ำสกปรกและมีเชื้อโรคมากขนาดไหน หนูยังสามารถลงไปว่ายได้แถมยังขึ้นมาวิ่งต่อในบ้านของเราพร้อมพาเชื้อโรคต่างๆ ติดตัวเข้ามาด้วย แล้วเชื้อโรคและสิ่งสกปรกที่ติดตัวหนูมาจะไปไหนได้ ก็เข้ามาอยู่ในที่พักอาศัยของเราไง หนูที่อาศัยอยู่ในที่สกปรกอยู่แล้ว มันจะสามารถปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมที่แย่ๆ ได้ แล้วเชื้อโรคพวกนั้นจะมีผลกับใครล่ะ ก็มนุษย์เราไง แล้วยังจะมีสัตว์เลี้ยงของเราด้วย ป่วยไปตามๆ กัน จึงถือได้ว่าหนูเป็นพาหนะนำโรคได้อย่างดี

 

เพื่อป้องกันหนูเข้ามาในบ้านของเราทางท่อระบายน้ำ ควรติดตระแกรงเหล็กตามทางระบายน้ำต่างๆ ของอาคารบ้านเรือน และสุดท้ายนี้อยากฝากเตือนผู้อ่านทุกคนว่า ไม่ใช่แค่งูเท่านั้นนะคะที่มุดท่อระบายน้ำเข้ามาทางชักโครกได้ หนูก็สามารถทำได้เช่นกันค่ะ

 

ขอบคุณค่ะ

 

ด้วยความปรารถนาดีจาก บริษัท เอ็กซ์เปอร์ท เพสท์ ซิสเต็ม จำกัด

 

กลุ่มของสารเคมีกำจัดแมลง แบ่งเป็น 4 กลุ่มใหญ่ ๆ

 

  1. กลุ่มออร์กาโนคลอไรน์ ซึ่งเป็นกลุ่มของสารเคมีที่มีคลอรีนเป็นองค์ประกอบ สารเคมีกำจัดแมลงในกลุ่มนี้ที่นิยมใช้กันมาก คือ ดีดีที (DDT), ดีลดริน (Dieldrin), ออลดริน (Aldrin), ท็อกซาฟีน (Toxaphene), คลอเดน (Chlordane), ลินเดน (Lindane), เอนดริน (Endrin), เฮปตาครอ (Heptachlor) เป็นต้น สารเคมีในกลุ่มนี้ส่วนใหญ่เป็นสารเคมีที่มีพิษไม่เลือก (คือเป็นพิษต่อแมลงทุกชนิด) และค่อนข้างจะสลายตัวช้า ทำให้พบตกค้างในห่วงโซ่อาหารและสิ่งแวดล้อมได้นาน บางชนิดอาจตกค้างได้นานหลายสิบปี ปัจจุบัน ประเทศส่วนใหญ่ทั่วโลกจะไม่อนุญาตให้ใช้สารเคมีในกลุ่มนี้ หรือไม่ก็มีการควบคุมการใช้ ไม่อนุญาตให้ใช้อย่างเสรี เพราะผลกระทบด้านสุขภาพและสิ่งแวดล้อม

 

  1. กลุ่มออร์กาโนฟอสเฟต ซึ่งเป็นกลุ่มที่มีฟอสฟอรัสเป็นองค์ประกอบ โดยสารเคมีในกลุ่มนี้ที่รู้จักกันคือ มาลาไธออน (Malathion), ไดอาซินอน (Diazinon), เฟนนิโตรไธออน (Fenitrothion), พิริมิฟอสเมธิล (Pirimiphos methyl), และไดคลอวอส (Dichlorvos หรือ DDVP) เป็นต้น สารเคมีในกลุ่มนี้จะมีพิษรุนแรงมากกว่ากลุ่มอื่น โดยเป็นพิษทั้งกับแมลงและสัตว์อื่นๆ ทุกชนิด แต่สารในกลุ่มนี้จะย่อยสลายได้เร็วกว่ากลุ่มแรก

                                                      

 

  1. กลุ่มคาร์บาเมต ซึ่งมีคาร์บาริลเป็นองค์ประกอบสำคัญ โดยสารเคมีกำจัดแมลงที่รู้จักและใช้กันมาก คือ คาร์บาริว (Carbaryl ที่มีชื่อการค้า Savin), คาร์โบฟุแรน (Carbofura), โพรพ็อกเซอร์ (Propoxur), เบนไดโอคาร์บ (Bendiocarb) สารเคมีในกลุ่มคาร์บาเมตจะมีความเป็นพิษต่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมน้อยกว่าพวกออร์กาโนฟอสเฟต

 

  1. กลุ่มสารไพรีทรอยด์สังเคราะห์ เป็นสารเคมีกลุ่มที่สังเคราะห์ขึ้นโดยมีความสัมพันธ์ตามโครงสร้างของไพรีทริน ซึ่งเป็นสารธรรมชาติที่สกัดได้จากพืชไพรีทรัม สารเคมีในกลุ่มนี้มีความเป็นพิษต่อแมลงสูง แต่มีความเป็นพิษต่อสัตว์เลือดอุ่นต่ำ อย่างไรก็ตาม สารเคมีกลุ่มนี้มีราคาแพงจึงไม่ค่อยเป็นที่นิยมใช้ สารเคมีกำจัดแมลงในกลุ่มนี้ ได้แก่ เดลตาเมธริน (Deltamethrin), เพอร์เมธริน (Permethrin), ไซเพอร์เมธริน (Cypermethirn), เรสเมธริน (Resmethrin), ไบโอเรสเมธริน (Bioresmethrin), ไซฟิโนธริน (Cyphenothrin) และ ดี-เตตระเมธริน (D-tetramethrin) เป็นต้น