Phos-Gas

 

     Aluminum phosphide

 

ประโยชน์ ควบคุมและกำจัดแมลงศัตรูพืชในระยะตัวอ่อน และตัวเต็มวัย
ผ่านการขึ้นทะเบียนวัตถุอันตราย(กปศ.)   เลขที่ 1331-2555
อยู่ในกลุ่มสาร Inorganic
สารออกฤทธิ์ Aluminium phosphide 56%
การส่งผลต่อแมลง ดูดซึมผ่านทางระบบทางเดินหายใจ และไปยับยั้งกระบวนการทำงานหายใจระดับเซลล์ทำให้เนื้อเยื่อไม่สามารถดูดออกซิเจนไปใช้ส่งผลให้ขาดพลังงาน และตายในที่สุด
ขนาดบรรจุ 1.5 กิโลกรัม
วิธีเก็บรักษา ปิดบรรจุภัณฑ์ให้สนิท หลีกเลี่ยงการเก็บในที่ชื้นหรือมีไอน้ำ ควรเก็บในที่แห้ง และเย็น มีการระบายอากาศได้ดี
อัตรการใช้ 2-3 เม็ด ต่อผลผลิต1 ตัน หรือ 1-2 เม็ด ต่อ 1 ลูกบาศก์เมตร
*ในระยะเวลาไม่น้อยกว่า 7 วัน
ข้อควรระวัง ใช้โดยผู้เชี่ยวชาญ และสวมอุปกรณ์ป้องกัน โดยเฉพาะหน้ากากเพื่อป้องกันการสูดดมสารเนื่องจากการได้รับสารนี้จะผ่านทางระบบทางเดินหายใจ โดยไม่ซึมผ่านผิวหนัง ดังนั้นการใช้งานจึงควรอยู่ในที่ที่มีอากาศถ่ายเทสะดวก


 
     

         

     Phosphine (ฟอสฟีน) เป็นหนึ่งในสารรมที่ได้รับความนิยมมากที่สุด เนื่องจากเป็นสารที่สามารถแพร่กระจายได้ทั่วบริเวณ โดยที่ไม่ทิ้งสารพิษตกค้าง จัดเป็นสารประเภท Inorganic หรือสารประกอบทางเคมี โดยมีสารออกฤทธิ์ คือ Aluminium phosphide

 

      Aluminium phosphide มีความสามารถในการกำจัดแมลง ในระยะตัวอ่อน และตัวเต็มวัยของแมลงได้เกือบทุกชนิดได้อย่างรวดเร็วในความเข้มข้นไม่สูงมากแต่สำหรับแมลงในระยะไข่และระยะดักแด้ ต้องใช้เวลารมนานกว่าปกติ และต้องใช้ความเข้มข้นสูงขึ้น เนื่องจากในสองระยะนี้มีอัตราการหายใจที่ต่ำทำให้ได้รับพิษของฟอสฟีนช้า ซึ่งกลไกการทำงานของอลูมิเนียมฟอสไฟด์จากการใช้สารรม จะส่งผลโดยตรงต่อระบบทางเดินหายใจของศัตรูพืช ทำให้ไม่สามารถนำออกซิเจนไปใช้ได้และตายในที่สุด

 

       นอกจากสามารถทำลายแมลงศัตรูพืชแล้วยังสามารถทำลายศัตรูพืชชนิดอื่น เช่น หนู นก หรือเชื้อราในโรงเก็บได้ เพื่อคุณภาพที่ดีของผลผลิต จึงควรมีวิธีที่ป้องกันแมลงและศัตรูพืชควบคู่หลังจากการรมสาร เนื่องจากการใช้ ฟอสฟีน เป็นการทำลายศัตรูพืชที่ไม่มีสารพิษตกค้าง และไม่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อผลผลิต จึงเรียกว่าเป็นการควบคุมและกำจัดมากกว่าการป้องกันแมลงศัตรูพืชในระยะยาวได้

 

*ฟอส แก๊ส (Phos Gas) เป็นฟอสฟีนจากประเทศเบลเยี่ยม โดยมีฐานการผลิตอยู่ที่สาธารณรัฐประชาชนจีน

 

*ตามมาตรฐาน Codex ได้กำหนดปริมาณตกค้างของฟอสฟีนไว้ที่ 0.1 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม สำหรับธัญพืชที่ไม่ผ่านกระบวนการ และที่ 0.01 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม สำหรับธัญพืชที่ผ่านกระบวนการแล้ว